ภาพรวมการทำ CPR

เน้นคุณภาพการทำ CPR

การทำ CPR คุณภาพสูงช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นและผู้ช่วยชีวิตจำเป็นต้อง “เพิ่มคุณภาพของการทำ CPR ให้สูงสุด” เพื่อช่วยชีวิตเพิ่มมากขึ้น1,2

การทำ CPR คุณภาพสูงที่กำหนด

คุณภาพสูงหมายถึงการให้การกดที่ระดับความลึกและอัตราที่เหมาะสม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือไม่ยันหน้าอก และทำให้มีการหยุดการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด

ใน แนวทางปี ค.ศ.2015 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา และ สภาการกู้ชีพยุโรป ระบุส่วนประกอบสำคัญที่สุดห้าประการที่ต้องใช้ในการทำ CPR คุณภาพสูง:

  • อัตราการกด 100–120 ครั้งต่อนาที
  • ความลึกของการกด 2–2.4 นิ้ว (5–6 เซนติเมตร)
  • เลี่ยงการให้มือยันหน้าอกเพื่อให้กลับสู่ตำแหน่งเดิมเต็มที่หลังจากการกดแต่ละครั้ง
  • ลดการหยุดชั่วคราวในการกดให้น้อยที่สุด (อัตราส่วนการกดหน้าอก > 60%)
  • เลี่ยงการช่วยหายใจมากเกินไป (หายใจ 2 ครั้ง/กด 30 ครั้งโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced Airway), ช่วยการหายใจ 10 ครั้ง/นาทีโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced Airway))

เครื่องมือในการปรับปรุงการทำ CPRให้มีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยชีวิตทุกระดับประสบการณ์ต้องการความช่วยเหลือเมื่อทำ CPR

ระบบทั้งในและนอกโรงพยาบาลที่เน้นการปรับปรุงคุณภาพการทำ CPR และได้รวมเอาเทคโนโลยีของ ZOLL เข้าด้วยกัน เพิ่มโอกาสรอดเป็นสองเท่า3,4

เทคโนโลยี Real CPR Help®บนเครื่อง AED ของ ZOLL (เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าภายนอกอัตโนมัติ) และเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบมืออาชีพช่วยให้ผู้ช่วยเหลือที่เป็นประชาชนทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถทำ CPR ที่มีคุณภาพสูงได้เหมือนกัน Real CPR Help ประกอบด้วยการแสดงผลในรูปแบบเสียงและภาพที่จะช่วยให้ผู้ช่วยชีวิตนั้นสามารถทำการกดหน้าอกในกระบวนการ CPR ด้วยความเร็วและความลึกที่มากพอให้ช่วยชีวิตได้

X Series CPR Dashboard screen
 

บนเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบมืออาชีพของ ZOLL, CPR Dashboard™ จะแสดงข้อมูลโดยละเอียดรวมถึงอัตราและความลึกของการกดทุกครั้งและได้รับการปล่อยมือคืนเต็มที่หรือไม่ นอกจากนี้ เทคโนโลยี See-Thru CPR® ยังช่วยกรองสัญญาณรบกวนการกดแยกออกมาเพื่อให้สามารถแสดงจังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยโดยธรรมชาติในระหว่างการทำการกู้ชีพโดยการปั๊มหัวใจ (CPR) ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการหยุดกด แล้วด้วยเทคโนโลยี Real CPR Help ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจากการช่วยชีวิตจะได้รับการบันทึกและสามารถเข้าถึงได้ง่ายในการอภิปรายและฝึกอบรมที่เกิดขึ้นภายหลัง

การทำ CPR คุณภาพสูงตราบเท่าที่ใช้

บางครั้งอาจต้องใช้การทำ CPR เป็นระยะเวลานาน

หากคุณภาพของ CPR นั้นดีพอ มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยสามารถรอดชีวิตด้วยการ CPR เป็นระยะเวลานานได้โดยไม่มีผลกระทบต่อความสามารถของระบบประสาท

ระบบกู้ชีพ AutoPulse® จะไม่ทำให้เหนื่อยเพราะให้การทำ CPR เชิงกล ไม่ว่า CPR จะทำด้วยแรงกลหรือแรงคน เป้าหมายคือต้องการผลลัพธ์อันดีต่อผู้ป่วย ZOLL ตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ที่ทำการช่วยชีวิตทุกคนทั้งคนที่ไม่มีประสบการณ์ เจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลให้สามารถทำ CPR ที่ถูกต้องได้ ซึ่งคือสิ่งที่ผู้ป่วยสมควรได้รับ

1Neumar RW, et al. Circulation. 2015;132(suppl 2):S315–S367.
2Meaney PA, et al. Circulation. 2013 Jul 23;128(4):417–35. Epub 2013 Jun 25.
3Bobrow B, et al. Annals of Emergency Medicine. July 2013:62(1):47-56.31.
4Davis DP, et al. Resuscitation. 2015 Jul;92:63-69